วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กลยุทธ์ "น่านน้ำ (Ocean) ในแวดวง การตลาด และการสร้างแบรนด์ นะจ๊ะ

กลับมา Up อีกครั้ง

หลังจากหายหน้าหายตาไปแสนนาน จากภารกิจ แสนวุ่นวาย ตอนนี้ยังไม่มี โครงที่เขียนต่อจากบทที่แล้ว เลยไม่รู้จะเขียนอะไรดีครับ แต่เหลือบไปเห็นคำ คำนึงในเว็บ เลยอยากนำมาเขียน เพื่อให้ความรู้ และ เพื่อที่่จะรู้มากขึ้นเสียหน่อย เรื่องนั้นชื่อว่า แนวคิดเรื่อง น่านน้ำหรือ "Ocean" ครับ

สำหรับแนวคิดเรื่องน่านน้ำนั้น แต่ในอดีตนั้นเราอาจจะรู้จักกันเพียง สอง แนวคิดคือ น่านน้ำสีฟ้าหรือสีคราม (Blue Ocean) และ น่านน้ำสีแดง หรือ (Red Ocean) ครับ

1. กลยุทธ์น่านน้ำสีฟ้าหรือคราม (Blue Ocean Strategy :BOS) เป็นการใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความแตกต่าง ให้กับบริษัท สินค้าและบริการ โดยใช้การคิดนอกกรอบ นวัตกรรม หรือไม่ว่าจะเป็น การหาช่องว่างทางธุรกิจ หรือการหาตลาดที่ยังไม่มีคู่แข่งมากนักนั่นเอง ซึ่งการนำกลยุทธ์ BOS มาใช้นั้น ธุรกิจจำเป็นจะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความทันสมัยหรือแปลกใหม่อยู่เสมอ เนื่องจากเมื่อคู่แข่งมองเห็นโอกาส ธุรกิจเหมือนเรา ก็จะทำการลงมาแข่งขันหรือ Copy ตามวัฏจักรของธุรกิจ ในปัจจุบันยังคงมีธุรกิจหลายธุรกิจที่สามารถใช้กลยุทธ์ BOS ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างดีเยี่ยม ตัวอย่างเช่น ธุรกิจ Air Asia สายการบินต้นทุนต่ำ ที่เจาะกลุ่มผู้บริโภคที่ ต้องการบินในราคาไม่สูงนัก มีความสะดวกรวดเร็วในการจอง พร้อมกับ Promotion ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดี แลกกับความหรูหรา และการบริการที่ด้อยลงไป
 
 

Picture Source : google.com (รูปภาพเพื่อประกอบการอธิบายเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อการโฆษณา)

2. กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง (Red Ocean Strategy :ROS) เป็นกลยุทธ์ที่สามารถเห็นได้อยู่ทั่วไปตามท้องตลาด กล่าวคือ เป็นกลยุทธ์ที่มักใช้ ต้นทุนในการนำกระบวนการในการดำเนินธุรกิจ แข่งขันกันในด้านของราคาเป็นหลัก ใครสามารถหาต้นทุนได้ต่ำกว่า ก็จะขายได้ถูกกว่า นำไปสู่การได้มาซึ่ง ส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) ที่สูงกว่า สินค้าหรือบริการที่ใช้กลยุทธ์นี้มักเป็นสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีความแตกต่างจากสินค้าอื่นๆ สามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในปัจจุบัน มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด จากหลายค่าย  Apple, Samsung, Nokia, HTc, Sony เป็นต้น ซึ่งแต่ละค่าย ต่างงัดกลยุทธ์ ฟังก์ชั่นต่างๆ มาเพื่อแข่งขันกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านราคา รูปทรง เทคโนโลยี หรือ การตอบรับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งอาจต่างจากที่ผู้เขียน อธิบายข้างต้นเล็กน้อย กล่าวคือมือถือเหล่านี้อาจไม่ได้แข่งขันกันด้วยราคา แต่เป็นการสร้างความแตกต่าง เมื่อค่ายใดออกเทคโนโลยีใหม่ มา อีกค่ายก็จ้องที่จะเลียนแบบออกมา เพื่อไม่ให้น้อยหน้ากัน

เอาหละครับ ผ่านไปกับกลยุทธ์ที่เราต่างคุ้นเคยกัน ตอนนี้ เรามาดู กลยุทธ์น่านน้ำที่เกิดขึ้น ใหม่ ซึ่งบางท่านอาจจะรู้ดีอยู่แล้ว แต่ผมจะขอ ขยายความเจ้ากลยุทธ์ใหม่สองตัวนี้หน่อยครับ คือกลยุทธ์ น่านน้ำสีขาว (White Ocean) และ น่านน้ำสีเขียว (Green Ocean)

3.กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว (White Ocean Strategy : WOS) เป็นการดำเนินกลยุทธ์ที่ให้เกิดประโยชน์กับทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ ลูกค้า คู่ค้า หรือว่าสังคมครับ เป็นการดำเนินธุรกิจโดยใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม หลักการประกอบการที่ดี (Corpotate Governance) ในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้เกิดขึ้นในการทำธุรกิจ เป็นการดำเนินธุรกิจโดยที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของสังคมไปด้วย กล่าวคือมีความรับผิดชอบต่อสังคมนั่นเอง (Corporate Social Responsibility) สำหรับตัวอย่างธุรกิจที่ดำเนินด้วยกลยุทธ์นี้ ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่าง คือ ธุรกิจรถยนต์ ทาทา (TATA Motors) เป็นธุรกิจที่มีปรัชญาในการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการพัฒนาของสังคม เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกับสังคมและพัฒนาไปพร้อมกันได้ ประกอบกับการใช้คุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ธุรกิจรถยนต์ทาทา มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยื่น (Sustainable) 


 

Picture Source : google.com (รูปภาพเพื่อประกอบการอธิบายเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อการโฆษณา)
 
4. กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว (Green Ocean Strategy : GOS) แบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ เรื่องของ ระบบ ที่กำกับดูแลด้วยธรรมาภิบาลสีเขียว (Green Governance) และเรื่องของ คน ที่ปลูกสร้างด้วยอุปนิสัยสีเขียว (Green Habits) แนว คิดกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียวจากสถาบันไทยพัฒน์ เป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจอีกแนวทางหนึ่งที่พยายามสร้างทางเลือกใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันด้วยราคา และการแข่งขันกันด้วยนวัตกรรม ที่ต้องดิ้นรนต่อสู้กับการลอกเลียนแบบ (Copy and Development) สินค้าและบริการในรูปแบบต่างๆ แม้ว่าราคาสินค้าของไทยพอจะแข่งขันในตลาดโลกได้บ้างแต่ก็ไม่สู้จะดีนักหลัง จากที่ จีน อินเดีย และเวียดนาม มีข้อเสนอด้านต้นทุนค่าแรงงานที่ต่ำกว่า กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียวจึงมุ่งเน้นตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคซึ่งแสดงความรับผิด ชอบต่อสังคมด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกลุ่มการดำเนินธุรกิจตามแนวคิด CSR (Corporate Social Responsibility) หรือ ความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจต่อสังคม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวจะถูกนำมาใช้เป็นมาตรการในการกีดกันทางการค้าของกลุ่ม ประเทศพัฒนาแล้วในอนาคตอันใกล้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น